สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพขี้ค้างคาว สูตรปุ๋ยขี้ค้างคาว การทำปุ๋ยขี้ค้างคาว ทำปุ๋ยชีวภาพขี้ค้างคาว ทำน้ำหมักขี้ค้างคาว

สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพขี้ค้างคาว สูตรปุ๋ยขี้ค้างคาว การทำปุ๋ยขี้ค้างคาว ทำปุ๋ยชีวภาพขี้ค้างคาว



การที่เกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ในพื้นที่การเกษตรซึ่งสะสมในดินและต้นน้ำลำธาร ก่ออันตรายต่อชีวิตที่อยู่โดยรอบ รวมถึงผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง ด้วยเหตุนี้ นางทองแดงคำผอง หนึ่งในสมาชิกชุมชนบุญนิยมสกลอโศก บ.โคกตาดทอง อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร จึงหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อคืนความสมบูรณ์ดินในนา จนปัจจุบันกลายเป็นต้นแบบของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ
นางทองแดง คำผอง เกษตรกรเจ้าของภูมิปัญญา

ปัจจุบันแม่ทองคำ ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6,กข.8 และ กข.12  และไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด เช่น  กอไผ่  มันสำปะหลังยางพาราและต้นยูคาลิปตัส  โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพทั้งหมด ไม่มีสารเคมีเจือปนเลย 100%
ขั้นตอนการปลูกข้าวอินทรีย์ ตามวิธีการของ แม่ทองแดง คำผองคำบ่อ
1.การเตรียมดิน
- ไถกลบหญ้าเพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าวในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ประมาณวันที่ 20 พ.ค. โดยการไถกลบนี้เป็นการไถกลบพืชทั้งหมดที่อยู่ในนาข้าวเพื่อใช้เป็นปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน  ทิ้งไว้จนถึงวันที่ 20 มิถุนายน ก็เริ่มหว่านกล้า ต่อจากนั้นในวันที่ 20 สิงหาคม จึงเริ่มปักดำนาได้เลย
2.พันธุ์ข้าวที่ปลูก
ในพื้นที่นาทั้งหมด 17 ไร่ ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด แบ่งออกเป็นพันธุ์ คือ พันธุ์ กข.6  จำนวน7 ไร่ / พันธุ์ กข.8 จำนวน 5 ไร่ และพันธุ์ กข.12 จำนวน 12 ไร่  ซึ่งพันธุ์ข้าวทั้งหมดนั้นได้รับมาจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
3.การบำรุงดิน
- การบำรุงดินนั้นจะใช้จุลินทรีย์น้ำมูลค้างคาวฉีดพ่นก่อนการไถกลบดิน ซึ่งจะทำหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว  แต่ต้องฉีดพ่นน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาวตอนเช้ามืดก่อน 9 โมงเช้าหรือฉีดพ่นตอนเย็นที่แดดร่มลมตก เพราะจุลินทรีย์นั้นไม่ชอบแสงแดด  จะส่งผลให้ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ลดลง  ซึ่งการไถกลบตอซังหรือฟางข้าวแห้งและใช้น้ำหมักจุลินทรีย์มูลค้างคาวฉีดพ่นนี้เป็นการบำรุงดินที่ดีมาก เพราะถือว่าเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อย่างเหมาะสม  จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าน้ำในไร่นาจะออกเป็นสีแดง
4.ปุ๋ยและปริมาณการใช้
- ใช้ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นปุ๋ยขี้วัว / ปุ๋ยขี้หมู  เอามาผสมกับแกลบดำและแกลบขาวในสัดส่วน 1:1:1
- ใช้น้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาวฉีดพ่นตอนเตรียมดิน
-ใช้น้ำหมักชีวภาพ คือ น้ำพ่อ/น้ำแม่ และ กรดนม ฉีดพ่นตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ประมาณ 3-5 วัน ฉีดพ่นครั้งหนึ่ง
-ปริมาณการใช้ปุ๋ยคอกในพื้นที่นา 17 ไร่ นั้น จะใช้ปุ๋ยคอกทั้งหมด 2 ตันครึ่ง ซึ่งจะใส่ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มปักดำ ราคาของปุ๋ยคอกนั้นอยู่ที่กระสอบละ 15 บาท ( 1 กระสอบน้ำหนักประมาณ25-27 กิโลกรัม)
5.ต้นทุนการผลิต
- ค่าปุ๋ยคอก ใช้จำนวนทั้งสิ้น 2 ตันครึ่ง ต่อพื้นที่ 17 ไร่ ซื้อมาใช้ในราคากระสอบละ 15 บาท น้ำหนักต่อกระสอบนั้นประมาณ 25-27 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 100 กระสอบต่อพื้นที่นาทั้งหมด 17 ไร่  เป็นเงินเท่ากับ 15,000 บาท
-ค่าจ้างไถไร่ละ 200 บาท พื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ เป็นเงินเท่ากับ3,400 บาท
- รวมต้นทุนการผลิตปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ 17 ไร่ เป็นเงินทั้งสิ้น18,400 บาท
6.ผลผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์
ผลผลิตที่ได้รับหลังจากที่คุณป้าแดง เริ่มหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปีนี้เริ่มเข้าปีที่ 4  ผลผลิตที่ได้รับนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี คือ
ปี 2548 พื้นที่นาทั้งหมด 17 ไร่ ได้ข้าวเท่ากับ 150  หมื่น
ปี 2549 พื้นที่นาทั้งหมด 17 ไร่ ได้ข้าวเท่ากับ 200  หมื่น
-ปี 2550 พื้นที่นาทั้งหมด 17 ไร่ ได้ข้าวเท่ากับ 272  กระสอบๆละ 25-27 กิโลกรัม หรือประมาณ6,800  กิโลกรัม หรือเท่ากับ567  หมื่น **หมายเหตุ** 1  หมื่นเท่ากับ 12  กิโลกรัม
7.ราคาและข้อแตกต่างระหว่างข้าวสารเคมีกับข้าวสารเกษตรอินทรีย์
ความแตกต่างของราคาข้าวต้น คือ ราคาข้าวต้นของข้าวที่ปลูกโดยใช้สารเคมีนั้นอยู่ที่หมื่นละ 65 บาท  ส่วนราคาข้าวต้นของข้าวเกษตรอินทรีย์นั้นอยู่ที่หมื่นละ 100 บาท
-เมล็ดข้าวสารของข้าวเกษตรอินทรีย์นั้นจะมีความหอมและนุ่มกว่าข้าวสารเคมี
8.ความเชี่ยวชาญพิเศษในการทำน้ำหมักมูลค้างคาวใช้แทนปุ๋ยเคมี
8.1ส่วนผสมในการทำน้ำหมักมูลค้างคาว
-มูลค้างคาวซึ่งจะขึ้นไปเอาเองบนภูเขา ได้มาประมาณ 1 กระสอบปุ๋ย ก็สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการหมักน้ำหมักมูลค้างคาวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งในมูลค้างคาวนี้ถือได้ว่าเป็นน้ำหมักที่มีธาตุไนโตรเจนสูงเหมาะในการใช้กับต้นข้าวหรือพืชสวนเพื่อบำรุงให้พืชเจริญเติบโตเต็มที่

@
ส่วนผสมในการทำน้ำหมักมูลค้างคาว
- มูลค้างคาว  10  กิโลกรัม/  กากน้ำตาล  5  กิโลกรัม
วิธีการ เอามาผสมกันแล้วหมักไว้โดยไม่ต้องใส่น้ำเป็นเวลา  15  วัน ก็สามารถนำมาใช้ผสมกับน้ำฉีดพ่นในนาข้าวได้อย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการใช้
-น้ำหมักมูลค้างคาวนั้นใช้ในปริมาณ  คือ  น้ำหมักมูลค้างคาว  3  ช้อนแกง:น้ำ  20  ลิตร  ใช้ฉีดพ่นในนาข้าวเพื่อบำรุงต้นข้าวให้เจริญเติบโต
-ความถี่ในการใช้นั้น คือใช้ฉีดพ่นประมาณ 3-5 วันต่อครั้ง จนทั่ว
เทคนิคเพิ่มเติม คือ การใช้น้ำหมักจากผลไม้(น้ำพ่อ) และการใช้น้ำหมักจากพืชสีเขียว(น้ำแม่) ในการบำรุงนาข้าว
1.ใช้น้ำแม่หรือน้ำหวานหมักจากพืชสีเขียวผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน คือ
-น้ำแม่ 3 ช้อนแกง ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นนาข้าวช่วงที่ต้นข้าวกำลังอ่อนเพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับต้นข้าวให้มีความแข็งแรงและต้านทานต่อโรคและแมลงมากขึ้น 3-5 วันต่อครั้ง

 
2.ใช้น้ำพ่อหรือน้ำหวานหมักจากผลไม้ผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน คือ
-น้ำพ่อ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วนาข้าวในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง เพื่อเป็นการบำรุงให้ต้นข้าวเจริญเติบโตและออกรวงได้อย่างเต็มที่ ในความถี่ 3-5 วันต่อครั้ง


3.ใช้กรดนมหรือกรดแลกติก ผสมกับน้ำพ่อ และผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:1:1 ฉีดพ่นให้ทั่วนาข้าวตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้องจนกระทั่งรวงข้าวโตเต็มที่จนโน้มลงหรือก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7 วัน จึงหยุดฉีดบำรุง  จะมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการเพิ่มผลผลิตของเมล็ดข้าวให้มีจำนวนมากขึ้นและเมล็ดมีความอุดมสมบูรณ์เต็มที่ในอัตราความถี่ 5-7 วันต่อครั้ง

นี่คือภูมิปัญญาดีๆและใช้กลยุทธ์ง่ายๆในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษ 100%ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
 
ภูมิปัญญาจาก : คุณทองแดง คำผอง บ้านเลขที่ 85 หมู่ 2  ต.คำบ่อ อ.วาริชภมูิ จ.สกลนคร
แหล่งที่มาของข้อมูล : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677 เครือข่ายสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี


แหล่งที่มาของข้อมูล : คุณทองแดง คำผอง
ที่อยู่ : หมู่ที่2 ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

Share on Google Plus

About im'saradee

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

1 comments :